วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หินที่สนใจ


หินแกรนิต

แกรนิต” (อังกฤษ: granite) (ออกเสียง: /ˈɡrænɪt/) เป็นหินอัคนีแทรกซอน สีจางพบได้ทั่วไปเป็นปรกติ แกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่ามวลเนื้อพื้น (groundmass) เกิดเป็นหินที่รู้จักกันในนามของพอร์พายรี (porphyry) แกรนิตอาจมีสีชมพูจนถึงสีเทาเข้มหรือแม้แต่สีดำขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีและองค์ประกอบทางแร่ หินโผล่ของหินแกรนิตมีแนวโน้มจะเกิดเป็นมวลหินโผล่ขึ้นมาเป็นผิวโค้งมน บางทีหินแกรนิตก็เกิดเป็นหลุมยุบรูปวงกลมที่รายล้อมไปด้วยแนวเทือกเขาเกิดเป็นแนวการแปรสภาพแบบสัมผัสหรือฮอร์นเฟลส์

แกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ (ปราศจากโครงสร้างภายใน) แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้เป็นหินก่อสร้างกันอย่างกว้างขวาง ค่าความหนาแน่นเฉลี่ยของหินแกรนิตคือ 2.75 กรัม/ซม3 และค่าความหนืดที่อุณหภูมิและความกดดันมาตรฐานคือ ~4.5 • 1019 Pa•s.[1]

คำว่า “granite” มาจากภาษาลาตินคำว่า “granum” หมายถึง “grain” หรือ “เม็ด” ซึ่งมาจากลักษณะโครงสร้างผลึกในเนื้อหินที่เป็นเม็ดหยาบ

ด้านวิศวกรรม

วิศวกรได้มีการใช้พื้นผิวหินแกรนิตขัดเพื่อทำเป็นระนาบอ้างอิงเนื่องจากความไม่ยืดหยุ่นและน้ำซึมผ่านไม่ได้ คอนกรีตแซนด์บลาสต์ซึ่งมีองค์ประกอบที่มีส่วนผสมของเม็ดกรวดที่มีน้ำหนักและมีลักษณะปรากฏที่ละม้ายคล้ายกับแกรนิต และมักจะนำไปใช้ทดแทนเมื่อหินแกรนิตจริงๆใช้ไม่ได้ผล การใช้แกรนิตที่ผิดปรกติที่สุดเห็นจะเป็นการสร้างทางรถไฟสำหรับ Haytor Granite Tramway ในดีวอน ประเทศอังกฤษในปี 1820


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น